วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2559

รอยสักกับค่านิยมของคนไทย

รอยสักกับค่านิยมของคนไทย
           เมื่อมองย้อนไปในอดีตเราจะเห็นว่ารอยสักนั้นถือกำเนิดและอยู่ควบคู่กับสังคมไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว แต่การสักสมัยนั้นจะเป็นการสักเกี่ยวกับด้านคงกระพันชาตรี เพราะแต่ก่อนยังมีการก่อศึกสงคราม รอยสักจึงเป็นเหมือนสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นความเชื่อในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ฟันแล้วไม่เข้า สักแล้วหนังเหนียว เพิ่มพละกำลัง คุ้มครองตนในตอนรบทัพจับศึก จึงส่งผลให้ในปัจจุบันมีผู้คนบางกลุ่มมีความเชื่อเกี่ยวกับรอยสักว่าเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ
           การสักในประเทศไทย มีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
     1.การสักยันต์อักขระ การสักด้วยวิธีนี้จะเป็นการสักเกี่ยวกับความเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งรูปแบบในการสักจะแตกต่างกันไปตามรูปแบบของอักขระยันต์แต่ละชนิด การสักยันต์ประเภทนี้อาจารย์ที่ทำการสักจะเสกคาถาลงไปในระหว่างที่ทำการสักด้วย จึงทำให้ผู้ที่สักต้องต้องรักษาตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เช่น ห้ามด่าทอบิดามารดา เป็นต้น
     2.การสักแฟชั่นทั่วไป คือการสักหรือวาดลวดลายต่างๆ ลงบนร่างกาย ไม่มีการลงคาถาระหว่างการสัก ไม่มีกฎหรือข้อห้ามหลังการสัก ไม่ใช่การสักเพื่อความเชื่อ แต่เป็นการสักตามค่านิยมและความชอบส่วนบุคคล
           เมื่อระยะเวลาผ่านไปดูเหมือนว่าค่านิยมในการสักของคนไทยจะเปลี่ยนไปตามเวลาด้วยเช่นกัน ไม่มีหลักฐานระบุได้ชัดเจนว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น อาจจะเป็นเพราะจุดประสงค์ในการสักของผู้คนเปลี่ยนไปจึงทำให้ทัศนคติของสังคมเปลี่ยนไปด้วย ในขณะที่บางกลุ่มมีความเชื่อว่ารอยสักคือเรื่องของศิลปะและความเชื่อ แต่คนบางกลุ่มมองว่ารอยสักคือสิ่งไม่ดี รอยสักคือสิ่งสกปรก ไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม จึงทำให้ต่อต้านคนที่มีรอยสัก ซึ่งแอดมินอยากจะบอกว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป คนที่มีรอยสักบางทีเขาอาจจะเป็นคนดีไม่เคยสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคม ในทางตรงกันข้ามคนที่มีร่างกายที่สวยงามไม่มีล่องลอยในการสักอาจเป็นคนเลว อย่างในข่าวการฆ่าข่มขืนหรือคดีอื่น ๆ อีกมากมายที่เราเห็นในปัจจุบัน ผู้ต้องหาบางรายไม่มีรอยสักตามตัวเลยด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นจงอย่าตัดสินคนอื่นแค่ภาพลักษณ์ภายนอก คนจะดีหรือเลวนั้นลอยสักไม่ได้เป็นเครื่องตัดสิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น